Usability Test (UX) - "จงทดสอบ" [2/2]

Usability Test (UX) - "จงทดสอบ" [2/2]
05/02/19   |   12.1k

มาต่อกันเลยกับ บทความ Usability Test (UX) — “จงทดสอบ” [2/2]

หากใครพลาดบทความที่แล้ว Usability Test (UX) - "จงทดสอบ" [1/2] ลองเข้าไปอ่านกันก่อนได้นะครับ

เมื่อเราเตรียมการพร้อมแล้ว ไปทดสอบกันเถอะ

 

ทำไงบ้างละ?

เมื่อถึงเวลานัด ก็เชิญ User เข้ามาใช้งาน พูดคุยทักทายแบบเป็นกันเองเพื่อลดกำแพงความเครียดของ User

หากเขาพร้อมแล้วก็เป็นหน้าที่ของเรา ที่ต้องชี้แจงว่า

  • สิ่งที่เรากำลังจะทดสอบคืออะไร ?
  • เป็นการทดสอบแบบไหน ?
  • มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง? 
  • ส้่วนใดได้บ้างของผลิตภัณฑ์ที่เราจะทดสอบ?
  • หากทำส่วนใดไม่สำเร็จหรือไม่ผ่าน ไม่ใช่ความผิดของ User 
  • หาก User ไม่อยากทำแบบทดสอบต่อ ก็สามารถขอหยุดได้ทันที
  • หาก Step การทดสอบข้อใดที่ User ไม่เข้าใจ หรือใช้เวลากับมันนานเกินกว่าเวลาที่เรากำหนดไว้ เราสามารถข้ามข้อนั้นๆ ไปเลยก็ได้(แต่ต้องจดว่า Fail)
  • ฯลฯ

และส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือ 

หาก User คิดและรู้สึกอย่างไรในขณะที่ทำการทดสอบ ให้พูดออกมาเลย ไม่ต้องเกรงใจ คิดซะว่าเราคือ อากาศธาตุ เหมือนไม่ได้นั่งอยู่ตรงนั้น

"เพราะสิ่งที่ user พูดออกมาคือ หัวใจสำคัญของการทำ Usability Test นี้" 

 

เพราะนอกจากเราจะต้องจด Step ที่ User ได้ทำระหว่างการทดสอบแล้ว สีหน้า ท่าทาง และคำพูดคือสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องค่อยสังเกต เนื่องจากจะทำให้เราเข้าใจว่า User รู้สึกอย่างไรเมื่อถึงขั้นตอนนี้ เขาสามารถเข้าใจ UI หรือ สิ่งที่ต้องทำขณะนั้นได้มาน้อยเพียงใดและเริ่มทำการทดสอบได้เลย

อย่าลืมทำการบ้ันทึกวิดีโอที่ถ่ายสีหน้า หรือภาพรวมของ User และบันทึกวิดีโอของScreen ไว้เช่นกัน เพื่อเก็บไว้เป็นแหล่งอ้างอิงหรือกลับมาย้อนดูภายหลัง

 

เริ่มกันเถอะ !

เมื่อเรากำหนดโจทย์ให้ User ทำแล้ว ก็ให้เขาทำไปเรื่อยๆ เมื่อเสร็จก็ให้โจทย์ข้อต่อไปได้เลย 

หาก User สงสัยหรือถามว่า "ปุ่มนี้คืออะไร?" หรือ "กดอันนี้แล้วไปไหนอ่ะ?" บลา ๆ ๆ ...

เราจงพึงระลึกไว้เสมอว่าสิ่งที่เราจะตอบได้คือ

แล้วคุณคิดว่าอย่างไร?

เพราะหากเราตอบเขาไปทันที นั้นคือเราจบเลย และไม่เป็น Professional เพราะเราจะไม่ได้ข้อมูลอะไรกลับมาเลย โดยหากเราขยี้คำถามของเขาไปเรื่อยๆ เราจะเก็ทไอเดียว่า สิ่งที่เข้าใจกับสิ่ง ๆ นั้นคืออะไร... คนอื่น ๆ คิดแบบเดียวกัน กับเขารึเปล่า? หรือเป็นแค่เขาคนเดียว ถ้าหลายๆคน คิดหรือรู้สึกแบบเดียวกัน ซึ่งถ้ามันถูกต้องอยู่แล้วมันก้เป็นสิ่งที่ดี แต่หากมันผิดจากสิ่งที่เราคิดไว้ละ?

นั้นหมายความว่า เราอาจจะต้องทำการแก้ไขจุดนั้นรึเปล่า? ก็จะใช้เป็นหัวข้อในการพูดคุยกับทัีมงานของเราว่าจุดนี้ควรหรือไม่ควรแก้ไข

เพราะเรามีการทดสอบการใช้งานมาแล้ว ข้อมูลของก็เราจะมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น

Photo of a Laptop on Top of Table

 

เมื่อ User ทำตามโจทย์หมดแล้ว เราก้อาจจะถามข้อมูลเชิงลึกกับเขามากยิ่งขึ้น ว่าระหว่างการทดสอบ สังเกตเห็นเขามีทีท่าว่าส่วนนั้นส่วนนี้ยังไม่เคลียร์

เขามีความคิดเห็นเช่นไร? 

ซึ่งคำถามที่เราจะเจาะหาข้อมูลเพิ่มเติ่มอาจจะใช้หลัก 5W H1 

Who What Where When Why + How / ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไม และอย่างไร 

ลองให้ User ให้คะแนน ผลิตภัณฑ์ของเรา เป็น 0-10 คะแนนก็ได้ เพื่อที่จะไปหาค่าเฉลัี่ยของการใช้ผลิตภัณฑ์ของเราว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เราพอใจหรือไม่

ถ้าไม่ต้องแก่้ไขอย่างไร? จะได้นำไปคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป  

 

เมื่อเราไม่มีคำถามแล้ว ก็ทำการกล่าวขอบคุณ User ที่สละเวลามาทำแบบทดสอบก็เรา และบอกเขาว่าเราจะนำข้อมูลที่ได้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราต่อไปในอนาคต

หากมีสินน้ำใจเล็กๆน้อย เช่น บัตรกำนัล หรือ ของที่ระลึก เป็นต้น ก็สามารถให้เขาได้ในเวลานี้ และเรียกคนต่อไปเข้ามาเพื่อทำแบบทดสอบต่อไป...

เป็นไงกันบ้างครับ ไม่ยากเลยใช่ไหม?

แค่นี้คุณก็พร้อมที่จะทำ Usability Test ให้กับผลิตภัณฑ์ของคุณได้แล้ว...

tags : ux process ทดสอบการใช้งาน



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email