21 วัน 80 บุคลากรกับ 1 Platform ที่ชื่อว่า TCRT

21 วัน 80 บุคลากรกับ 1 Platform ที่ชื่อว่า TCRT
17/08/20   |   3.7k

ปี 2020 ปีที่เกิดสถานการณ์ต่าง ๆ มากมายทั่วโลก หนึ่งในนั้นก็คือสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งความอันตรายก็คือแม้ในระยะฟักตัวไวรัสนี้ก็ยังสามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ ซึ่งทำให้เราไม่สามารถรู้เลยว่าคนรอบตัวเรากำลังติดไวรัสหรือไม่ และการไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจก็อาจกลายเป็นเพิ่มความเสี่ยงให้กับตัวเองและครอบครัว จึงทำให้หลายคนไม่กล้าเดินทางหรือออกจากบ้าน และเกิดความวิตกกังวลขึ้นในคนหมู่มาก

 

THiNKNET เลยร่วมกับ บริษัท แอท-ยีนส์ จำกัด และ บริษัท พัลซ ไซเอนซ์ จำกัด เพื่อทำ Platform TCRT (Thailand COVID-19 Test-Results & Patients Tracking Platform) ที่ประกอบไปด้วยแอปพลิเคชัน TCRT สำหรับเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย เว็บไซต์สำหรับผู้ป่วย และเว็บไซต์ Back Office สำหรับเจ้าหน้าที่ ที่สามารถจัดการข้อมูลของผู้ป่วย ทำการ Tracking ผู้เข้ารับการตรวจว่าเดินทางไปไหนมาบ้าง ไปจนถึงการแจ้งผลตรวจ COVID-19 พร้อมรถตรวจโควิดปลอดเชื้อ (TCRT Covid Free Unit) ที่จะเดินทางตรวจสอบอาการเพื่อลดความเสี่ยงในการเดินทางมาโรงพยาบาล

 

พี่เกริก Manager, Development & Operations

 

Beginning

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม 2020 พี่เกริก Manager, Development & Operations ของ THiNKNET ได้โจทย์การทำ TCRT Platform มาโดยอยากให้ทำทั้งแอปพลิเคชัน และระบบหลังบ้าน (Back Office) ให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์ แต่ความจริงแล้วการจะพัฒนา Platform สักหนึ่งระบบนั้นอาจต้องใช้เวลามากถึง 2-3 เดือนเลยทีเดียว อีกข้อจำกัดที่ตามมาคือในตอนนั้นพนักงานหลาย ๆ คนในองค์กรกำลังทดลอง Work from Home กันอยู่ จึงมีข้อจำกัดเรื่องการสื่อสารอยู่ด้วยเช่นกัน

 

พี่เกริกจึงนำหลักการ Competency Matrix ที่ทีม Engineer ใช้ในการรีวิวการทำงาน และพัฒนาน้อง ๆ ในทีมตั้งแต่ปี 2019 อยู่แล้ว มาดัดแปลงเพื่อปรับใช้ในการจัดทีมและการทำงานครั้งนี้ โดยการสร้างตาราง Competency Matrix ของทุกคนในแผนกขึ้นมาและนำคนที่มีทักษะโดดเด่นแต่ละด้านที่กระจายตัวอยู่ในทีมต่าง ๆ มารวมกันเป็นทีมเฉพาะกิจ เมื่อประกอบทีมที่มีทักษะโดดเด่นขึ้นมาได้แล้ว ก็จะทำให้การทำงานในส่วนนั้น ๆ ออกมาดีและเร็วขึ้น แม้จะอยู่ภายใต้ระยะเวลาที่จำกัดก็ตาม

 

Planning

วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม 2020 เมื่อได้ทีมที่ดัดแปลงมาจาก Competency Matrix แล้ว ทีม Development กว่า 80 คน ได้เดินทางมาประชุมกันที่ออฟฟิศ เพื่อให้การทำงานรวดเร็วขึ้น พี่เกริกเลยใช้วิธี Decentralize เพื่อกระจายงานให้แต่ละทีมทำส่วนของตัวเองไปเลย อย่างทีม Mobile ก็ทำ Mobile Application ไปอย่างเดียว และค่อยนำงานจากส่วนต่าง ๆ มาประกอบกันเพื่อทำให้งานออกมาได้เร็วที่สุด แต่ในการใช้วิธีการกระจายงานออกไปเลย ก็จะทำให้เกิดปัญหาตามมาในรูปแบบของ Bug หรือ User Experience เล็กน้อยที่ต้องคอยดูแลและปรับปรุงภายหลัง

 

ซึ่งการพัฒนา TCRT Platform เป็นเรื่องที่ใหม่กับทั้งทีม Development ของ THiNKNET เองที่ยังไม่มีประสบการณ์การทำแอปพลิเคชันสายสุขภาพ และทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำแอปพลิเคชันเช่นกัน ทำให้ต้องเรียนรู้ร่วมกันไปแบบวันต่อวัน ทีม Development ต้องเรียนรู้อย่างรวดเร็วเพื่อทำความเข้าใจความต้องการของทีมบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อตีโจทย์ออกมาเป็นฟีเจอร์ต่าง ๆ เก็บวิธีการการใช้งานของฟีเจอร์หลัก (Main Feature Flow) ให้ได้ก่อน ทั้งในส่วนของแอปพลิเคชันและ Back Office

 

Developing

อังคารที่ 24 มีนาคม 2020 เมื่อพี่มด Principal Engineer สามารถเก็บ Main Feature Flow ทั้งในส่วนของแอปพลิเคชันและ Back Office ได้แล้ว ก็จะนำตัว Final Flow ทั้งหมดมาเพื่อ Grooming และสรุปให้ทีม Development ทุกคนฟัง เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพใหญ่และนำไป Planning ตามความรับผิดชอบของตัวเองกันต่อ ซึ่งทีมที่รับผิดชอบในแต่ละ Platform ก็จะทยอยส่งงาน และสามารถทำ Main Feature เสร็จภายในระยะเวลาเพียง 2 สัปดาห์ ซึ่งการพัฒนา Platform ที่ต้องใช้เวลามากถึง 2-3 เดือนให้เสร็จภายใน 2 สัปดาห์ ด้วยข้อจำกัดในเรื่องเวลาที่สั้น ทำให้บุคลากรทั้ง 2 ฝั่ง (THiNKNET และทีมบุคลากรทางการแพทย์) จำเป็นต้องปรึกษากันว่าแต่ละฟีเจอร์ใน TCRT นั้นสำคัญมากน้อยแค่ไหนบ้าง เพื่อเอาฟีเจอร์ที่สำคัญมากที่สุดมาพัฒนาก่อน เพราะเป้าหมายคือต้องการให้ Platform นี้สามารถปล่อยออกไปพร้อมรถตรวจโควิดปลอดเชื้อ (TCRT Covid Free Unit) ได้

 

พี่มด Principal Engineer

 

พี่พลอย Senior Supervisor, Software Development และทีมงานกว่า 80 ชีวิต ใช้วิธีสื่อสารกันโดยมี Daily Report ผ่านทาง Microsoft Teams ทุกวัน และสร้าง Task เพื่อ Tracking งานผ่าน Jira เพื่อจะได้เห็นสถานะของแต่ละชิ้นงานและปัญหาที่เกิดขึ้น หากมีงานด้านไหนที่ติดขัด ล่าช้า และต้องการ Resource หรือคนเข้าไปช่วย ตาราง Competency Matrix ก็จะทำให้ เราเห็นว่ามีใครที่พอจะโยกไปช่วยทีมอื่นได้บ้างซึ่งในช่วงแรกก็มีการโยกกันทุกวันเพื่อให้ทำงานได้ทันเวลา ส่วนของแอปพลิเคชันเองก็จะมีทีม Quality Assurance และ Business Analyst ทดสอบตลอดเวลา ให้ผู้ใช้งานเห็นหน้าตาการใช้งานได้เร็วขึ้นและแก้ไขได้เร็วขึ้น ส่วนของผู้ใช้งานก็จะสามารถ Feedback ได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ โดยการลองทำความเข้าใจ Flow การใช้งาน เห็นปัญหา และ Bug ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน Platform ด้วยตัวเอง

 

Opening

10 เมษายน 2020 ทีม THiNKNET สามารถเอาแอปพลิเคชัน TCRT ขึ้น Google Play Store และ Huawei AppGallery ได้สำเร็จ หลังจากผ่านไปเพียง 21 วัน (3 สัปดาห์) ซึ่ง TCRT Platform ทั้งหมด ทั้งรถตรวจโควิดปลอดเชื้อ (TCRT Covid Free Unit) และแอปพลิเคชันก็ได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ที่เข้ารับการตรวจ ทีมเจ้าหน้าที่ และทีมบุคลากรทางการแพทย์

 

พี่ไอซ์ Senior Supervisor Engineer, Software

 

เมื่อทำ TCRT Platform เสร็จแล้ว พี่ไอซ์ Senior Supervisor Engineer, Software และทีมทั้งหมดก็จะประเมินวิธีการทำงานด้วย Retrospective Process โดยการแยกการทำงานเป็น 3 ส่วนคือ Good / Bad / Try เพื่อมองย้อนกลับไปในการทำงาน ว่าเราได้อะไรจากสิ่งที่เราทำบ้าง คำแนะนำ ปัญหา หรือได้ความรู้ใหม่ตรงไหน เพื่อนำไปปรับใช้พัฒนาต่อในการทำงานครั้งต่อ ๆ ไป นั้นก็คือจุดประสงค์หลักในการทำ Retrospective ซึ่งตอนนี้ทีมหลาย ๆ คนก็จะ Fade ออกไปทำงานตามปกติที่ตนรับผิดชอบต่อ แต่ก็จะมีทีมบางส่วนที่คอยดูแลและ Maintenance TCRT Platform ต่อ

 

TCRT ตรวจที่ไหนมาบ้างแล้ว ดูได้ที่

TCRT Update หรือ FB Page: TCRT

 

อ่านมาถึงตรงนี้ก็จะเห็นได้ว่า แม้ทีม Development ของ THiNKNET จะเคยทำ Platform ที่ประสบความสำเร็จจนได้รางวัลมาแล้ว อย่าง JobThai Mobile Application แต่เมื่อมี Platform ใหม่ทุก ๆ คนก็ยังต้องเรียนรู้และปรับตัวอยู่ตลอดเวลา และการที่พนักงานหลายคนทำงานที่บ้าน (WFH) ก็ไม่ใช่ปัญหาที่จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลง หากแต่เราต้องเรียนรู้และพร้อมที่จะปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ และ Tools ต่าง ๆ ในการสื่อสารให้เป็นและไม่ลืมที่จะติดตามสถานะของตัวงานอย่างสม่ำเสมอ

 

สุดท้ายนี้ทีมงาน THiNKNET, บริษัท แอท-ยีนส์ จำกัด และ บริษัท พัลซ ไซเอนซ์ ก็ขอเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ประสบวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อมทุกคน ให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ด้วยกัน

 

 

สามารถดาวน์โหลด Application สำหรับผู้รับการตรวจได้ที่

Google Play Store หรือ Huawei AppGallery

 

หากสนใจร่วมงานกับเรา THiNKNET ก็กำลังมองหาเพื่อนร่วมงานหลายตำแหน่ง มา Join กันเลย

 

tags : tcrt thinknet tcrt platform covid-19



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email