มาลอง Data Driven Testing ใน Jest กันหน่อย

มาลอง Data Driven Testing ใน Jest กันหน่อย
21/06/19   |   3.8k
ถ้าชุดทดสอบทำงานแบบเดิม ต่างกันแค่ข้อมูลทดสอบ จะทำอย่างไรดี ?

บวกเลขสองหลัก

เริ่มกันที่ตัวอย่างสุดคลาสสิค สมมติว่าเรามีฟังก์ชันบวกเลขสองหลัก เราจะทดสอบมันยังไงดีนะ ?

หลายคนคงมีคำตอบในใจแล้วใช่ไหมครับ อย่างผมก็คิดว่าโยนเลขสองตัวเข้าไปในฟังก์ชัน แล้วดูว่าผลลัพธ์ที่ได้ตรงตามที่คิดไว้ไหม

สมมติว่าผมมีข้อมูลทดสอบอยู่สามชุด ดังนี้

+-----+-----+----------+
| A | B | Expected |
+-----+-----+----------+
| 1 | 1 | 2 |
| -1 | 1 | 0 |
| -1 | -1 | -2 |
+-----+-----+----------+


ถ้าคิดง่าย ๆ เราก็สร้างชุดทดสอบมาสามชุด แล้วก็แยกทดสอบกันไป สุดท้ายก็จะได้โค้ดเหมือนด้านล่างนี้


เขียนแบบนี้ก็ไม่ได้ผิดแปลกอะไรนะครับ แต่สำหรับผมคงขัดใจนิดหน่อยตรงที่ชุดทดสอบมันถูกเขียนซ้ำ ๆ และยิ่งข้อมูลทดสอบมีเยอะเท่าไหร่ โค้ดซ้ำก็จะเยอะตามไปด้วยเท่านั้น

เอ… จะดีไหมนะ ? ถ้าเราสามารถเขียนการทดสอบเพียงแค่ครั้งเดียว แต่ใช้วิธีโยนข้อมูลทดสอบที่แตกต่างกันเข้าไปแทน


ลดการเชียนชุดทดสอบซ้ำ ๆ ด้วย `test.each`

ใน Jest เราสามารถเตรียมข้อมูลทดสอบเอาไว้ในรูปของอาเรย์สองมิติหรือตาราง แล้วใช้ it.each หรือ test.each เพื่อนำข้อมูลทดสอบไปใช้ โดยเขียนไว้ในการทดสอบเดียวได้ แบบนี้ครับ


เราเก็บชุดข้อมูลทดสอบไว้เป็นอาเรย์สองมิติ ดูไปดูมาก็คล้ายตารางใช่ไหมครับ แต่ละแถวคือข้อมูลทดสอบในแต่ละครั้ง ส่วนที่ดูเหมือนคอลัมน์ก็เป็นพารามิเตอร์ที่จะถูกส่งไปยังเทสฟังก์ชันครับ จากตัวอย่างก็จะส่งไปเป็น a, b, expected ตามลำดับ

เราสามารถนำค่าในข้อมูลทดสอบมาแสดงเป็นชื่อเทสเคสได้ผ่าน syntax ของ printf ด้วยนะ จากตัวอย่างก็ใส่เป็น %d เลย

หรือถ้าผู้อ่านแอบคิดในใจว่า ทำขนาดนี้ไม่เขียนตารางไปเลยล่ะ งั้นได้เลย จัดไป


สำหรับใครที่กลัวว่าจะต้องมานั่งจัดตารางให้สวยก็ไม่ต้องกังวลไปนะครับ เราสามารถใช้ Prettier จัดตารางให้เป็นระเบียบได้เลย


สุดท้ายทั้งสามวิธีให้ผลลัพธ์แบบเดียวกัน แบบนี้ครับ


สรุป

สำหรับผมคิดว่าวิธีนี้น่าสนใจพอสมควรเลยครับ คือรู้สึกว่าถ้าเขียนแบบเดิม ๆ เนี่ย ยิ่งข้อมูลทดสอบมันเยอะมาก ๆ แค่นี้ก็ไม่อยากอ่านแล้วครับ เพราะโค้ดมันจะยาวมาก และดูซ้ำ ๆ กันเต็มไปหมด

และที่ชอบอีกอย่างคือการเตรียมชุดทดสอบเป็นตารางนี่แหละ ผมรู้สึกว่ามันเห็นภาพมากนะ คือมองโค้ดผ่าน ๆ แล้วรู้เลยว่าเราทดสอบอะไรอยู่บ้าง แต่อาเรย์สองมิตินี่ดูอ่านยากไปหน่อยแฮะ


จบแล้วครับสำหรับบทความนี้ หากใครอยากอ่านเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ลิ้งก์ด้านล่างนี้เลยครับ สำหรับใครที่ใช้แล้วชอบไม่ชอบยังไงสามารถเข้ามาพูดคุยกันได้นะครับ

Jest test.each - https://jestjs.io/docs/en/api#testeachtable-name-fn-timeout

tags : data driven testing jest testing



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email