THiNKNET ร่วมสนับสนุนการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเพื่อจัดการการระบาด COVID-19

THiNKNET ร่วมสนับสนุนการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเพื่อจัดการการระบาด COVID-19
15/06/21   |   4.4k


เมื่อเร็ว ๆ นี้ เครือข่ายเชิงปฏิบัติการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเพื่อตอบสนองการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID–19 จัดแถลงข่าวโดยได้รับเกียรติจากท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านรัฐพล นราดิศร เป็นประธาน ซึ่งจัดขึ้นที่ เทศบาลเมืองแม่เหียะ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 

 

เพื่อให้เกิดการยกระดับการจัดการตนเองในระดับพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการเข้าถึงการตรวจเชื้อไวรัส COVID-19 จากเครือข่ายเชิงปฏิบัติการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเพื่อตอบสนองการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 ภายใต้โครงการการจัดการเมืองเชิงระบบในภาวะฉุกเฉินเพื่อรับผลกระทบโรคติดไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  



 

นันทน์ เจนเสถียรวงศ์ หนึ่งในนักพัฒนา TCRT จาก ทิงค์เน็ต

 

โดยมีความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งในพื้นที่และจากส่วนกลาง ร่วมทั้งบริษัท ทิงค์เน็ต จำกัด ได้เป็นผู้จัดทำระบบ TCRT Platform ที่ใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลทั้งในเรื่องการเข้ารับการตรวจและรายงานผลให้กับผู้เข้ารับการตรวจ COVID-19 ในโปรเจกต์นี้ด้วย โดยวันแถลงข่าว นันทน์ เจนเสถียรวงศ์ และจุ๊บจิ๊บ ทิพรัตน์ ดวงแก้ว เป็นตัวแทนจาก THiNKNET และ TCRT นำรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย (Biosafety Mobile Unit) ไปทำการเก็บเชื้อผู้เข้าร่วมเพื่อตรวจโควิด-19 ด้วย  

 



 

สำหรับการดำเนินงาน มี 4 องค์ประกอบ คือ 

1) มีการตรวจเชื้อ 

2) มีการติดตามผู้ที่เข้ารับการตรวจเชื้อ 

3) การดูแลตนเองของประชาชนในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ เช่น Quarantine Home 

4) กลไกการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อยกระดับและนำไปสู่ทิศทางนโยบายสาธารณะและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมสู่การเป็น COVID Free City เพื่อตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 

 

 

การปฏิบัติการครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการวิจัย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงพื้นที่โดยมีกระบวนการการทำงานร่วมกัน โดยการนำความรู้และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อทำให้เกิดการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ขยายผลและนำไปสู่การทำงานอย่างยั่งยืน ซึ่งเทศบาลเมืองแม่เหียะจะเป็นพื้นที่นำร่อง การจัดการและการดูแลระบบสาธารณสุขด้วยตนเองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการเข้าถึงระบบสาธารณสุขของประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ และการควบคุมการแพร่ระบาด เพื่อลดการกระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 จากความร่วมมือของเครือข่ายฯ ร่วมกับเทศบาลเมืองแม่เหียะในการปฏิบัติการและเป็นพื้นที่สาธารณะต้นแบบ (Sandbox) ปฏิบัติการสำเร็จแล้ว จะได้มีการถอดบทเรียนความร่วมมือครั้งนี้ ซึ่งเป็นระบบจัดการตนเองผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่การพัฒนาและยกระดับพื้นที่อื่นต่อไป 

 

tags : tcrt tcrt platform thinknet



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email