Elasticsearch Lesson 1 : Simple Thai search engine

Elasticsearch Lesson 1 : Simple Thai search engine
15/03/19   |   28.6k
ถ้าหากคุณ เป็นคนหนึ่งที่เคยเขียน SQL statement ในลักษณะ นี้
 
 
โดยที่ keyword ในการค้นหานั้นได้จากการแบ่งข้อความที่เป็น input ในกล่องการค้นหา
 

บทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคุณไม่มากก็น้อยครับ


เมื่อไหร่ถึงค่อยใช้ การค้นหาผ่าน inverted index

  1. จำนวนเอกสารภายในระบบเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี
  2. การค้นหาแบบ string matching[1] ที่เป็นอยู่ใช้เวลานานเกินรอ
  3. ผลการค้นหา มีเยอะเกินกว่าจะอ่านไหวและเริ่มไม่ตอบโจทย์ความต้องการ

Document content

ข้อมูลเนื้อหาภายในเอกสารที่ใช้ในการสร้าง inverted index ส่วนมากจะเขียนโดยใช้บรรยายโวหาร อธิบายถึงคุณลักษณะต่างๆ ที่ตัว เอกสารหนึ่งๆ แทนอยู่ ไม่ว่าจะเป็น สิ่งของ เช่น

รองเท้า : ใส่นุ่มสบาย ใช้ได้ทนทาน
หนังสือการ์ตูน : ฆาตกรรมในห้องปิดตาย โดยมีนักสืบตัวจิ๋ว คอยไขปริศนา

หรือเป็นเรื่องราว

ชาวนาคนหนึ่งคิดหาวิธีไล่นกที่มากินข้าวในนาของตน ด้วยความที่เขาเป็นคนขี้สงสารเลยไม่อยากวางยาหรือยิงพวกมัน ทุกครั้งที่พวกนกบินมาเขาได้แต่กางแขนวิ่งไปโบกไล่นก เมื่อฝูงนกเห็นชาวนาวิ่งมาก็พากันบินหนี แต่พอชาวนาหันหลังกลับพวกมันก็บินมาลงนาตามเดิม

เป็นต้น


Indexing Process

ขั้นตอนการทำดัชนีฐานข้อมูลเริ่มจากนำข้อมูลเนื้อหาของเอกสารมาผ่านขั้นตอนการตัดคำ และนำ term ที่ได้มาสร้าง inverted index และเมื่อต้องการค้นหา keyword ที่ใช้ก็จะถูกตัดคำและคำนวณเทียบกับ inverted index ที่สร้างขึ้น และเรียงลำดับผลลัพธ์ตามคะแนน


เผื่อไม่เห็นภาพ เราก็จะมีตัวอย่างเอกสาร และ inverted index หลังจากที่ผ่านการตัดคำแล้วให้ดูดังรูป



ฟังดูทำง่ายจังเลย ไหนลองไปดูส่วนของเครื่องมือบ้างซิ

You know, for search

Elasticsearch[2] เป็น software ระบบการค้นหา ที่เบื้องหลังคือ Apache Lucene โดยที่ ภายใน Elasticsearch จะมี Module ที่ทำขั้นตอน Word Segmentation เรียกว่า Analyzer โดยจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ตัวด้วยกันที่สามารถตัดคำภาษาไทยได้

ตัวอย่างการเรียกใช้ icu_tokenizer

การคุยกับ elasticsearch คุยผ่าน http request ภายใต้ dsl-json format ของทาง elasticsearch

 
เราสามารถทดลองตัดข้อความได้ ตามตัวอย่าง request ด้านบน
 

โดยจะได้ผลลัพธ์การตัดคำออกมาดังรูป

หมายเหตุ : analyzer : thai มีอยู่แล้วใน default build แต่ icu_tokenizer ต้องติดตั้ง เพิ่มเติมก่อนจึงสามารถใช้งานได้

 

ว่าแต่ มันไม่ได้คำว่า “ข้าวมันไก่ ” นี่นา


Shingle Token Filter

 

 

analyzer_shingle เป็น custom analyzer (ดู PUT MAPPING เพิ่มเติม)

 

curl แล้ว grep “token”

Filter เป็นเครื่องมือตัวช่วยในการจัดการกับ term ที่ได้จาก tokenizer ก่อนที่จะนำไปสร้างเป็น inverted index โดยจุดประสงค์ ให้การเรียงลำดับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ในที่นี้ทำหน้าที่ของ Shingle Token Filter[4] คือ สร้าง inverted index จากการต่อกันของ token ที่ติดกันจากสาย token เดิม ดังตัวอย่าง คำว่า “ข้าวมันไก่”

เมื่อใช้ Shingle Token Filter แล้ว เราก็จะได้ term ที่เป็นคำเต็มๆ ออกมา

นั่นก็คือคำว่า “ข้าวมันไก่” นั่นเอง

คำเตือน : การแก้ปัญหาโดยการรวบ term ที่ติดกันนั้น มาสร้าง term ใหม่ เป็นการ trade-off ระหว่าง precision/recall[6] และ index size ของระบบการค้นหา

TL;DR


Put Mapping & Post Data

เมื่อถึงคราวจะใช้งานจริง เราก็สร้าง Custom analyzer ที่เรียกใช้ icu_tokenizer และ shingle filter และก็ใส่ข้อมูลเข้าไปลอง query ดู

 

ขั้นตอนการ put mapping ใน elasticsearch เทียบเท่ากับขั้นตอนการสร้าง schema ของ SQL database ต้องมีการระบุ

  • ชื่อของ field ในที่นี้ชื่อ content โดยเป็นประเภท text
  • ใช้งาน ใน index ชื่อ test
  • ใช้ analyzer ชื่อ analyzer_shingle

โดยมีการสร้าง Custom Analyzer ชื่อ analyzer_shingle ซึ่งประกอบด้วย

  • tokenizer : icu_tokenizer
  • filter : shingle
 
 

type ชื่อ product ตามด้วย id 1, 2, 3

ที่นี้ ก็ลองเอาข้อมูลใส่เข้าไปดูซิ


Query Document

ภายใน index จะมี inverted index ที่ถูกสร้างจากการ put mapping และ post data เข้าไป เมื่อมีการ query ข้อความจะถูกแบ่งเป็น term ต่างๆ และถูกนำไปเทียบกับ index ที่สร้างขึ้น โดยคำนวณคะแนนด้วย TF-IDF[5]

ref img จาก https://chrisalbon.com/machine_learning/preprocessing_text/tf-idf/

คะแนนของแต่ละ term ในการเทียบกับเอกสารหนึ่ง คิดจาก

จำนวนครั้งในการปรากฎ term นั้นในเอกสาร (ยิ่งมากยิ่งดี)

และ

ค่าผกผันของ จำนวนเอกสารที่ปรากฎ term นั้น (ยิ่งน้อยยิ่งดี)

โดยการคิดคะแนนรวมกันของแต่ละ term มีแบบ การบวก กับ การคูณ กัน

กลับสู่การ query ของเราต่อ

ลอง query โดยใส่คำว่า “มันไก่” จะได้ผลลัพธ์จากการ ranking ได้เอกสารลำดับที่ 1 “ฉันจะไปกินข้าวมันไก่” ก่อน เอกสารที่ 2 “ไก่ย่างถูกเผา มันจะถูกไม้เสียบ” เพราะว่า เอกสารที่ 1 มี term “มัน ไก่” ที่ได้จาก shingle filter ทำให้ได้คะแนน ranking ที่สูงกว่า

แต่หากลอง query โดยใช้คำว่า “ไก่มัน” ดูบ้าง ซึ่ง term “ไก่มัน” ไม่เคยปรากฎในเอกสารใดๆ มาก่อนเลย ทำให้คะแนนที่ได้จาก ranking ออกมาใกล้เคียงกันมาก ซึ่งเมื่อเป็นสถานการณ์จริง เอกสารอันใดอันหนึ่งอาจ ขึ้นก่อนอีกอันนึงก็ได้

พอเรา query ด้วยคำเต็มๆ “ข้าวมันไก่” ซึ่งจะมีอยู่หลาย term ที่ปรากฎ อยู่ในเอกสารที่ 1 เช่น “ข้าว มัน”, “มัน ไก่” และ “ข้าว มัน ไก่” เอง ทำให้คะแนนที่ได้นั่นสูงกว่า เอกสารที่ 2 มาก


 
สำหรับโค้ดต่างๆ ที่ได้กล่าวมาทั้งหมด สามารถดูได้จาก gist นี้

หลังจากนี้การค้นหาด้วย keyword ต่างๆ ก็สามารถค้นเจอเอกสารต่างๆ โดยใช้การตัดคำ และเรียงลำดับความสำคัญของเอกสาร ซึ่งยืดหยุ่นกว่าการผสมผสานกันระหว่าง string matching กับ boolean operation ในการค้นหาแน่นอน


อ่านจบแล้ว มันยัง Simple อยู่ไหมครับ 555


ในบทความต่อไป จะเป็นการค้นหาสำหรับ ชื่อเฉพาะเยอะๆ ไว้คอยติดตามรับชมกันครับ

เอกสารอ้างอิง

  1. string matching : https://www.cs.auckland.ac.nz/compsci369s1c/lectures/GG-notes/CS369-StringAlgs.pdf
  2. Get-Started Elasticsearch : https://www.elastic.co/guide/en/elasticsearch/reference/6.1/getting-started.html
  3. ICU Analysis Plugin : https://www.elastic.co/guide/en/elasticsearch/plugins/6.1/analysis-icu.html
  4. Shingle Token Filter : https://www.elastic.co/guide/en/elasticsearch/reference/6.1/analysis-shingle-tokenfilter.html
  5. TF-IDF : https://lukkiddd.com/tf-idf-%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%99%E0%B8%B0-dd1e1568312e
  6. Precision/Recall : https://opensourceconnections.com/blog/2016/03/30/search-precision-and-recall-by-example/
  7. Source Code : https://gist.github.com/GarKoZ/6f640601c198e1164d8793c7452966e2

tags : elasticsearch search engine shingle shingle token filter tfidf ตัดคำ



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email