TCRT Platform แพลตฟอร์มจัดการข้อมูลการตรวจโควิด-19 ที่ไม่เคยหยุดพัฒนา

TCRT Platform แพลตฟอร์มจัดการข้อมูลการตรวจโควิด-19 ที่ไม่เคยหยุดพัฒนา
15/06/21   |   3.7k

มากกว่า 1 ปีแล้วที่โลกต้องตกอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ที่ต้องยอมรับว่ามันได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของเราทุกคนจากหน้ามือเป็นหลังมือ เพื่อบรรเทาสถานการณ์ของการแพร่ระบาดนี้ให้ได้มากที่สุด THiNKNET ร่วมมือกับพาร์ทเทอร์อีก 2 บริษัท คือ บริษัท แอท-ยีนส์ จำกัด ผู้ให้บริการการตรวจพันธุกรรมในระดับสูง และบริษัท พัลซ ไซเอนซ์ จำกัด ผู้นำเข้าและผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ อยากจะนำความถนัดของแต่ละองค์กรมาร่วมมือกันในการช่วยบรรเทาสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้ พัฒนาออกมาเป็น Thailand CO Response Team (TCRT) เมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา 

 

 

Thailand CO Response Team (TCRT)

TCRT Platform เป็น Platform ที่ THiNKNET พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลทั้งในเรื่องการเข้ารับการตรวจและรายงานผลให้กับผู้เข้ารับการตรวจ TCRT จะเชื่อมต่อข้อมูลของฝั่งเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการการตรวจกับฝั่งผู้เข้ารับการตรวจเข้าด้วยกัน

 

TCRT Platform ถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย (Biosafety Mobile Unit) และตู้เก็บตัวอย่างชีวนิรภัย (Biosafety Mobile Booth) ที่ THiNKNET เองก็มีส่วนในการผลิตด้วย ตู้เก็บตัวอย่างชีวนิรภัยจะให้บริการผู้ที่ต้องการตรวจ โควิด-19 โดยเฉพาะที่หน้าห้องปฏิบัติการ ส่วนรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย จะเป็นบริการในการออกตรวจหาเชื้อโควิด-19 นอกสถานที่

 

พัฒนา Platform เพื่อเตรียมรับมือสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง

TCRT Platform มีการพัฒนา Platform มาโดยตลอด ในช่วงการระบาดระลอกแรกเราให้บริการการตรวจหาเชื้อในรูปแบบการตรวจสารพันธุกรรมของไวรัส (RT-PCR) หรือเก็บตัวอย่างด้วยวิธีแยงจมูกด้วยสำลีพันไม้ (SWAB) เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อการรักษาที่รวดเร็วตั้งแต่ระยะแรกของการเกิดโรค และใช้ติดตามผลการรักษาได้ วิธีการตรวจแบบนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่และผู้เข้ารับการตรวจเป็นอย่างมาก สถานที่ที่ทำการตรวจต้องมั่นใจได้ว่ามีความสะอาดและป้องกันเชื้อโรคได้ รถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย (Biosafety Mobile Unit) จึงถูกออกแบบมาเพื่อให้บริการด้วยวิธีการนี้ได้อย่างเต็มศักยภาพและมีความปลอดภัยกับทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ได้รับการตรวจ

 

การตรวจสารพันธุกรรมของไวรัส (RT-PCR) หรือเก็บตัวอย่างด้วยวิธีแยงจมูกด้วยสำลีพันไม้ (SWAB)

 

แต่เมื่อมีการระบาดในระลอกใหม่ในช่วงเดือนเมษายน จึงมีความต้องการในการตรวจหา โควิด-19 มากขึ้น เราจึงพัฒนา Platform ให้สามารถตรวจและรายงานผลการตรวจเพิ่มขึ้นอีก 2 วิธีก็คือ

 

1. วิธีการตรวจหาแอนติเจน (Antigen) หรือ RT-LAMP

เหมือนการตรวจแบบมาตรฐานแต่มีความเร็วขึ้น สามารถช่วยคัดกรองผู้ป่วยได้มากขึ้น และเป็นสิ่งที่ทั่วโลกต้องการมากที่สุด 

 

2. วิธีการใช้ชุดตรวจภูมิคุ้มกัน หรือแอนติบอดี้ (Antibody)

การเจาะเลือด มาตรวจค้นหาภูมิคุ้มกันในร่างกาย ที่เรียกกันว่า “แอนติบอดี้” หากพบ แอนติบอดี้ IgG หรือ IgM ก็แสดงว่าร่างกายเคยรับเชื้อโควิด-19 เข้ามาแล้ว แต่บอกไม่ได้ชัดเจนว่าติดเชื้อมาแล้วกี่วัน ต้องเก็บตัวอย่างเสมหะเพื่อตรวจด้วยวิธี RT PCR อีกครั้ง การตรวจวิธีนี้จะทำได้หลังมีอาการป่วย 5-7 วัน หรือได้รับเชื้อมาแล้ว 10-14 วัน

 

และทางฝั่งของผู้เข้ารับการตรวจ TCRT Platform ก็เพิ่มวิธีการแจ้งผลตรวจ จากแต่เดิมผู้รับการตรวจต้องเข้าไปตรวจสอบผลจากเว็บไซต์ https://patient.tcrt.in.th ก็เพิ่มวิธีการรับผลตรวจได้ทาง SMS ด้วย

 

วิธีการทำงานของ TCRT Platform

การใช้งาน TCRT มีการให้บริการ 2 ส่วนด้วยกันคือฝั่งของผู้เข้ารับการตรวจ และฝั่งของเจ้าหน้าที่  

ส่วนผู้รับการตรวจหาเชื้อ

ส่วนที่ 1  https://patient.tcrt.in.th คือเว็บไซต์สำหรับผู้รับการตรวจหาเชื้อ ผู้ต้องการเข้ารับการตรวจสามารถเข้าใช้งานได้ที่ โดยมีขั้นตอนการใช้งาน ดังนี้

 

ขั้นตอนการสแกน QR Code เพื่อใช้งาน https://patient.tcrt.in.th

 

 

  • กรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อยืนยันตัวตน และรับ QR Code

  • เข้ารับการตรวจโดยใช้ QR Code ที่ได้ให้เจ้าหน้าที่สแกน

  • รอรับผลตรวจจาก SMS หรือ ตรวจสอบผลการตรวจผ่านเว็บไซต์ https://patient.tcrt.in.th

 

ส่วนเจ้าหน้าที่

ส่วนที่ 2 https://officer.tcrt.in.th คือเว็บไซต์ Back Office สำหรับเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่สำหรับการการจัดการข้อมูล ทั้งในส่วนของผู้เข้ารับการตรวจและส่วนของข้อมูลเจ้าหน้าที่ ผู้ที่ใช้งานเว็บไซต์จะเป็นเจ้าหน้าที่จะเข้าใช้งานเมนูต่าง ๆ เพื่อเลือกดูข้อมูลผู้รับการตรวจ สถิติ หรือสถานะต่าง ๆ ได้ตามสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลที่ Administrator กำหนดให้

 

เว็บไซต์ https://officer.tcrt.in.th

 

  • จัดการข้อมูลของเจ้าหน้าที่ โดยการเข้าถึงข้อมูลของเจ้าหน้าที่ที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้ารับการตรวจได้ 

  • จัดการข้อมูลผู้รับการตรวจ เช่น แสดงข้อมูลสถานะผู้รับการตรวจแยกตามเขตพื้นที่แต่ละจังหวัด ข้อมูลแยกตามแต่ละประเภท เช่น เพศ อายุ 

  • แจ้งผลตรวจให้กับผู้เข้ารับการตรวจ

 

Platform ทั้งหมดที่ TCRT สร้างขึ้น ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกตรวจเก็บตัวอย่าง และอำนวยความสะดวกและสร้างความปลอดภัยให้กับผู้เข้ารับการตรวจให้มากที่สุด ซึ่งนี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นทีม TCRT เองก็ยังคงมุ่งพัฒนาเพื่อให้ Platform ของเรามีประสิทธิภาพและตอบโจทย์การใช้งานของฝั่งผู้เข้ารับการตรวจและเจ้าหน้าที่เองมากขึ้นเรื่อย ๆ

 

TCRT ให้บริการภาคเอกชน และบุคคลทั่วไปอย่างสม่ำเสมอ พร้องปรับปรุงพัฒนา Platform ให้บริการได้หลากหลายมากขึ้น เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา TCRT Platform และรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย (Biosafety Mobile Unit) ได้ออกให้บริการตรวจ โควิด-19 ที่เทศบาลเมืองแม่เหียะ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในงานแถลงข่าวเครือข่ายเชิงปฏิบัติการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเพื่อตอบสนองการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID–19 โดยจะเป็นพื้นที่นำร่อง การจัดการและการดูแลระบบสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกด้วย

 

tags : tcrt platform tcrt thinknet



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email