Behrmann Projection เส้นโครงแผนที่ทรงกระบอกของแบร์มันน์

Behrmann Projection เส้นโครงแผนที่ทรงกระบอกของแบร์มันน์
21/10/22   |   2k

Gerardus Mercator วางรากฐานของการทำแผนที่ไว้เมื่อหลายร้อยปีก่อน ศาสตร์และศิลป์ของการสร้างเส้นโครงของโลกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น นักทำแผนที่รุ่นหลังได้เรียนรู้จากผลงานชั้นครูสู่การสร้างสรรค์แผนที่ในแบบฉบับของตน 

 

 

Mercator Projection ยืนหยัดผ่านการเวลาในฐานะเส้นโครงแผนที่แบบ Cylindrical Projection ต้นฉบับของการฉายภาพจากโลกทรงกลมลงบนผิวทรงกระบอกแล้วคลี่กางออกเป็นแผนที่โลกรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคุ้นตา ด้วยคุณสมบัติรักษาทิศทาง รูปร่าง และระยะทางได้อย่างแม่นยำทำให้ชื่อเสียงของเมอร์เคเตอร์ยังอยู่ค้างฟ้ามาจนถึงทุกวันนี้  

 

[Image: https://www.britannica.com/science/Mercator-projection]

 

Behrmann projection คือหนึ่งในเส้นโครงแผนที่ตระกูล Cylindrical Projection จัดอยู่ในประเภทของ Cylindrical Equal-area Projection เปิดตัวครั้งแรกใน ค.ศ. 1910 ซึ่งสร้างสรรค์โดย Walter Behrmann นักทำแผนที่ยุคใหม่ผู้ต้องการสร้างเทคนิควิธีของตนโดยการเรียนรู้จากผลงานในอดีตหลาย ๆ ชิ้นและอยากทำให้ดีกว่า 

แผนที่ชุดรัฐกิจโลก: แบร์มันน์ โปรเจกชัน

 

ลักษณะทั่วไปของ Behrmann Projection จะคล้ายกับ Lambert Cylindrical Equal-area Projection และ Gall–Peters Projection โดยเฉพาะคุณสมบัติในการรักษาพื้นที่ ซึ่งเป็นจุดเด่นของเส้นโครงแผนที่แบบ Cylindrical Equal-area

สิ่งที่ทำให้แผนที่ของแบร์มันน์ต่างออกไปจากแผนที่ในตระกูลเดียวกันคือ แบร์มันน์กำหนดเส้นขนานมาตรฐานเส้นโครงแผนที่ของเขาไว้ที่ 30°N และ 30°S ทำให้ไม่ปรากฏความบิดเบี้ยว (Distortion) ในบริเวณดังกล่าว  


ภาพแสดงความบิดเบี้ยวที่ปรากฏบนเส้นโครงแผนที่แบบแบร์มันน์

 

นอกนั้นแล้ว Behrmann Projection ยังสามารถรักษาสัดส่วนระยะทางตลอดความยาวเส้นศูนย์สูตรไว้ได้อย่างแม่นยำ แต่ในขณะเดียวกันความพยายามของแบร์มันน์ในการรักษาสัดส่วนของพื้นที่ ดูเหมือนจะไปเพิ่มความบิดเบี้ยวของรูปร่างให้ปรากฏชัดขึ้นบริเวณที่ห่างออกไปจากเส้นขนานมาตรฐานทั้งสองเส้น ทำให้พื้นที่บริเวณขั้วโลกทั้งสองยืดเหยียดออกอย่างชัดเจนในแนวขวาง

Walter Emmerich Behrmann ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์ชาวเยอรมัน มีชีวิตอยู่ช่วง ค.ศ. 1882-1955 จบการศึกษาจาก University of Göttingen เชี่ยวชาญทั้งคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และการทำแผนที่ เขาเป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของนักภูมิศาสตร์คนสำคัญแห่งเยอรมนีอย่าง Hermann Wagner จึงไม่แปลกว่าผลงานของแบร์มันน์ได้รับอิทธิพลมาจากอาจารย์ของเขาด้วย  

Behrmann Projection ถือเป็นผลงานสำคัญที่ทำขึ้นในขณะเป็นที่ปรึกษาให้กับสถาบันภูมิศาสตร์ในเบอร์ลิน และสร้างชื่อให้แบรร์มันน์เป็นที่รู้จักในฐานะนักทำแผนที่ ด้วยประสบการด้านภูมิศาสตร์ที่สั่งสมมาตลอดเวลาหลายปี ทำให้เขาได้รับยกย่องให้เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณแห่ง The Free University of Berlin ในช่วงบั้นปลายชีวิต เมื่อ ค.ศ. 1954  

เส้นโครงแผนที่ของแบร์มันน์อาจไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย หรือเป็นที่จดจำเหมือนผลงานสร้างชื่ออื่น ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นความพยายามของนักทำแผนที่ที่ไม่เคยหยุดเรียนรู้ เพราะอุปสรรคและข้อจำกัดดไม่ได้ฉุดรั้งให้ Cartographer ยอมจำนนแต่คือความท้าทายในโลกแผนที่ 

 

การสร้างเส้นโครงแผนที่ หรือ Map Projection คือศาสตร์ที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับโลกได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น หากกำลังมองหาแผนที่โลกที่ต่างออกไปจากความเคยชินเดิม ๆ THiNKNETDesignStudio ขอนำเสนอทางเลือกให้กับผู้สนใจศาสตร์แห่งการทำแผนที่ได้รู้จักกับแผนที่โลกแบบต่าง ๆ และหนึ่งในนั้นคือ Behrmann Projection แผนที่โลกที่มีทั้งแบบ 2 ภาษา ไทย-อังกฤษ และแบบภาษาอังกฤษ เหมาะสำหรับใช้เพื่อการเรียนการสอน และตกแต่งเพื่อความสวยงาม 

 

 

แผนที่ชุดรัฐกิจโลก: แบร์มันน์ โปรเจกชัน และแผนที่โลกโมเดิร์น: แบร์มันน์ โปรเจกชัน-มินิมอล คัลเลอร์

 

THiNKNET Design Studio ยังมีผลิตภัณฑ์อีกมากมายให้เลือกสรร ไม่ว่าจะเป็น สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ แผนที่เพื่อการวางแผนธุรกิจ รวมถึงหนังสือคู่มือท่องเที่ยว "เที่ยว ล่า สุด" หนังสือท่องเที่ยวที่ออกตามล่าหาความเป็นที่สุดในทุก ๆ การเดินทาง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ Facebook: THiNKNETDesignStudio
ซื้อสินค้าสื่อการเรียนรู้อื่น ๆ แผนที่เพื่อการตกแต่ง และหนังสือคู่มือท่องเที่ยวได้ ที่นี่ 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม Line: @thinknetdesign
Tel: 0 2480 9990

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://en.wikipedia.org/wiki/Behrmann_projection
https://www.spektrum.de/lexikon/geographie/behrmann-walter/810
https://www.mapthematics.com/ProjectionsList.php?Projection=10
https://www.bluemarblegeo.com/knowledgebase/GeoCalcPBW/Content/ClassDef/Projection/Projections/Behrmann.htm

tags : map map projection social studies political map decor



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email