กว่าจะเป็นหน่วยวัด ประวัติแห่งการสร้างเกณฑ์มาตรฐานของมนุษยชาติ

กว่าจะเป็นหน่วยวัด ประวัติแห่งการสร้างเกณฑ์มาตรฐานของมนุษยชาติ
09/07/21   |   6.1k

“การวัด” อยู่กับสังคมมนุษย์มาช้านาน แม้ไม่อาจระบุได้อย่างชัดเจนว่าเริ่มขึ้นเมื่อใด แต่จากหลักฐานโบราณคดีชี้ให้เห็นว่าการวัดถือกำเนิดขึ้นพร้อม ๆ กับอารยธรรมมนุษย์ ตามหลักวิทยาศาสตร์ “การวัด” คือกระบวนการหาปริมาณของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยอาศัย “เครื่องมือวัด” เป็นตัวช่วยแสดงค่าปริมาณ และส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ในกระบวนการวัด คือ “หน่วยวัด” ซึ่งถูกนิยามขึ้นเพื่อจำกัดปริมาณของสิ่งนั้น ๆ  

 

ปริมาณพื้นฐานในชีวิตประจำวันที่เราคุ้นเคย มีตั้งแต่ น้ำหนัก ความเร็ว อุณหภูมิ ความยาว ตลอดจนระยะทาง ย้อนกลับไปนั้นการวัดทั่วไป เช่น ความกว้าง-ยาว ใกล้-ไกล อาศัยการประมาณค่าจากสิ่งใกล้ตัว อย่างช่วงแขน ฝ่ามือ นิ้วมือ ไปจนถึงช่วงก้าวขา เมื่อลองจินตนาการถึงชายสองคนตกลงซื้อถั่ว 1 กำมือ แต่ธรรมชาติสัดส่วนร่างกายมนุษย์นั้นมีหลากหลาย จะเกิดอะไรขึ้นถ้าชายทั้งคู่มีขนาดมือไม่เท่ากัน หน่วยวัดจึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อลดความขัดแย้ง และใช้เป็นบรรทัดฐานให้ยึดถือในสังคม 

 

 

หน่วยวัดเก่าแก่เท่าที่ปรากฏหลักฐานอ้างอิงได้ ย้อนไปสมัยอียิปต์โบราณ ประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวอียิปต์คิดค้นหน่วยวัดขึ้นเพื่อใช้อ้างอิงปริมาณ โดยยึดเอาความยาวจากข้อศอกถึงปลายนิ้วของฟาโรห์เป็นค่ามาตรฐานความยาว 1 ศอก แล้วเรียกค่าความยาวนั้นว่า 1 คิวบิต ในขณะที่หลาย ๆ อารยธรรมก็มีหน่วยวัดที่อาศัยหลักคิดคล้ายกัน เช่น หน่วยสโตน ซึ่งใช้วัดค่าน้ำหนักของสหราชอาณาจักรตั้งแต่สมัยโบราณ กำหนดหิน 1 ก้อน เพื่อใช้แทนน้ำหนัก 1 สโตน และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน  

 

 

เมื่อสังคมมนุษย์แผ่ขยายออกไป ความหลากหลายทางสังคมก็มีมากขึ้น การติดต่อเจรจาค้าขายกระจายไปสู่ทุกมุมโลกการสร้างค่ามาตรฐานในแต่ละสังคมย่อมแตกต่างกันไป ข้อตกลงระหว่างกลุ่มสังคมเล็ก ๆ จึงเริ่มเกิดปัญหา ถึงตอนนั้นเองที่หน่วยวัดมาตรฐานเริ่มเป็นสิ่งจำเป็น การหาข้อตกลงเพื่อสร้างระบบหน่วยวัดที่นานาชาติให้การยอมรับจึงเป็นหนทางสำคัญในการพัฒนาสังคมให้เจริญรุ่งเรือง 

 

ระบบหน่วยวัดหลักที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ ได้แก่ ระบบเมตริก อิมพีเรียล และอเมริกัน ระบบที่แพร่หลายมากที่สุดคือ “ระบบเมตริก” ซึ่งถือกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส ช่วง ค.ศ. 1789 เมื่อนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ประชุมร่วมกันจัดตั้งมาตรฐานการวัดขึ้น โดยคำนวณระยะทางจากขั้วโลกเหนือจนถึงเส้นศูนย์สูตร แล้วแบ่งเป็น 10 ล้านส่วน แต่ละส่วนเรียกว่า 1 เมตร เป็นที่มาของค่ามาตรฐานระบบเมตริก ที่มักใช้กับการวัดขนาด ความยาว ระยะทาง เช่น มิลลิเมตร เซนติเมตร เมตร และกิโลเมตร ด้วยความที่เป็นระบบซึ่งมีพื้นฐานมาจากวิทยาศาสตร์จึงกลายเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง  

 

 

ขณะที่สหรัฐอเมริกา พม่า ไลบีเรีย และสหราชอาณาจักร ใช้ระบบหน่วยวัดที่ต่างไป เช่น นิ้ว ฟุต ปอนด์ ออนซ์ และหลา ตามระบบอิมพีเรียล ที่กำหนดขึ้นเมื่อ ค.ศ 1824 ก่อนที่สหราชอาณาจักรเองจะเปลี่ยนมาใช้ระบบเมตริกใน ค.ศ. 1860 โดยยังคงระบบอิมพีเรียลไว้บางส่วน ในขณะที่สหรัฐอเมริกาได้นำระบบอิมพีเรียลเดิมไปปรับใช้เป็น U.S. customary units หรือเรียกว่าหน่วยวัดอเมริกัน ส่วนในประเทศไทยนั้น เดิมเราใช้ระบบวัดตามประกาศพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด และได้เปลี่ยนมาใช้ระบบเมตริกเมื่อ ค.ศ. 1923  

 

ทั้งนี้ความหลากหลายของระบบหน่วยวัดที่ใช้กันในแต่ละประเทศ ได้นำไปสู่การสร้างข้อตกลงร่วมกันในเวทีโลกเพื่อสร้างระบบการวัดระหว่างประเทศ หรือ ระบบเอสไอ (SI : The International System of Units) เมื่อ ค.ศ. 1960 เพื่อใช้ในทางวิทยาศาสตร์และสร้างการวัดให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก 

 

 

หน่วยวัดคือความเข้าใจพื้นฐานที่ช่วยลดอุปสรรคในการติดต่อสื่อสารออกไป การ ชั่ง ตวงวัด จึงถูกบรรจุเข้าไปอยู่ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะเป็นกุญแจสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาแขนงอื่น การมองเห็นความแตกต่าง และภาพรวมของระบบหน่วยวัด มีส่วนช่วยในกระบวนการคิดประมวลผลระหว่างการศึกษาเรียนรู้ และการบริโภคข่าวสารเป็นไปอย่างมีระบบ 

 

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องน้ำหนักข้าวหนึ่งกระสอบระหว่างสองประเทศที่ใช้หน่วยวัดต่างกัน อาจนำไปสู่สงครามได้ หน่วยวัดพื้นฐานที่มนุษย์ร่วมกันหาข้อตกลงและถูกพัฒนาขึ้น จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเติบโตของสังคม การสร้างบรรทัดฐานจากสิ่งเล็ก ๆ รอบตัวให้เกิดขึ้นเป็นความเข้าใจที่ตรงกัน ชี้ให้เห็นว่าเราไม่ได้เรียนรู้เพียงเพื่ออยู่รอด แต่เราเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกันให้ได้อย่างยั่งยืน 

 

 

หน่วยวัด The Unit ของ THiNKNET Design Studio เกิดขึ้นจากความตั้งใจสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเรียนรู้สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อายุ 12-14 ปี และผู้ที่สนใจทุกช่วงวัย โดยรวบรวมหน่วยวัดพื้นฐานในระบบสำคัญ และสอดแทรกสูตรลัดที่ใช้คำนวณหาค่าอย่างง่าย มีถึง 3 ดีไซน์ โทนสีคลาสสิกสะอาดตา ลบภาพสื่อการสอนแบบเดิมที่มักจะติดอยู่แค่บนผนังห้องเรียน ให้สามารถตกแต่งเพื่อสะท้อนสไตล์อันมีเอกลักษณ์  

 

 

ดูรายละเอียดของสินค้าและสั่งซื้อสื่อการเรียนรู้เรื่องหน่วยวัด The Unit ที่นี่ นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์สื่อการศึกษาหมวดคณิตศาสตร์ ที่หยิบเอาบทเรียนมาใส่สีสันให้น่าสนใจ อย่าง 20 สูตรเรขาคณิต, 20 Geometric Formulas ไว้เป็นตัวช่วยเสริมความรู้ให้แกร่งกล้า

 

THiNKNET Design Studio มีผลิตภัณฑ์มากมายให้เลือกสรร ไม่ว่าจะเป็น สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ แผนที่เพื่อการวางแผนธุรกิจ รวมถึงหนังสือคู่มือท่องเที่ยว "เที่ยว ล่า สุด" หนังสือท่องเที่ยวที่ออกตามล่าหาความเป็นที่สุดในทุก ๆ การเดินทาง 

ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ Facebook : @THiNKNETDesignStudio

ซื้อสินค้าสื่อการเรียนรู้อื่น ๆ แผนที่เพื่อการตกแต่ง และหนังสือคู่มือท่องเที่ยวได้ ที่นี่ 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม Line : @thinknetdesign

Tel: 02 353 6900 

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

 

https://www.britannica.com/science/cubit
https://www.britannica.com/science/United-States-Customary-System
https://www.bbc.com/travel/article/20180923-how-france-created-the-metric-system

tags : หน่วยวัด ระบบเมตริก ระบบอิมพีเรียล คณิตศาสตร์ ม.ต้น thinknet design studio



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email