การเดินทางของแผนที่ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

การเดินทางของแผนที่ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
03/08/21   |   18.5k

ก้าวแรกที่บรรพบุรุษมนุษย์เรียนรู้ที่จะออกหาอาหาร สัญชาตญาณการเอาตัวรอดสอนให้เราเริ่มจดจำ สถานที่นี้มีสัตว์ชุกชุม ทิศทางที่นำไปยังแหล่งน้ำ เราออกเดินทางเพื่อเสาะหา ก่อนที่อารยธรรมใดอารายธรรมหนึ่งจะลงหลักปักฐาน แผนที่แรกที่มนุษย์รู้จักใช้ไม่ได้อยู่บนกระดาษหรือแผ่นหิน แต่อยู่บนท้องฟ้า พระอาทิตย์ และดวงดาว คือระบบนำทางที่เชื่อถือได้มากที่สุดในสมัยนั้น 

การบันทึกตำแหน่งของสถานที่ต่าง ๆ เพื่อใช้สื่อสาร อ้างอิง เริ่มขึ้นหลายพันปีก่อนที่มนุษย์จะรู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร จากหลักฐานภาพเขียนโบราณบนผนังถ้ำใน Çatalhöyük ประเทศตุรกี ปรากฏภาพถนนหนทาง ชุมชน อ้างอิงตามตำแหน่งของภูเขาไฟ อายุกว่า 8,000 ปี พิสูจน์ให้เห็นถึงรูปแบบการบันทึกข้อมูลสำคัญเพื่อใช้แสดงที่ตั้งของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 


 

เมื่อย้อนไป 600 ปีก่อนคริสตกาล ชาวบาบิโลนได้บันทึกที่ตั้งของอาณาจักรและแม่น้ำยูเฟรติสผ่านสัญลักษณ์ลายเส้นลงบนแผ่นดินเหนียว เรียกว่า Imago Mundi อันมีความหมายว่า “ภาพของโลก” ซึ่งนับว่าเป็นแผนที่โลกซึ่งเก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ ณ เวลานี้
  


 

คำจำกัดความของ “แผนที่” ตามพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน คือสิ่งที่แสดงลักษณะของพื้นผิวโลก ทั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และที่ปรุงแต่งขึ้น โดยแสดงลงในพื้นแบนราบ ด้วยการย่อให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการ และอาศัยเครื่องหมายกับสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้น  

แผนที่ในยุคแรกยังไม่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการสำรวจ จึงอ้างอิงจากประสบการณ์ คำบอกเล่าจากนักเดินทาง และจินตนาการเป็นหลัก เห็นได้ชัดจากรูปแบบของแผนที่โลกซึ่งต่างออกไปจากที่เราคุ้นเคยกันอยู่ เช่น แผนที่โลกของ Hecataeus นักประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ชาวกรีก ผู้มีพื้นฐานความเชื่อว่าโลกแบน และแสดงเพียงแค่ ยุโรป ลิเบีย เอเชีย

  


 

วิวัฒนาการของแผนที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเมื่อ Ptolemy นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกอีกคน ได้เริ่มใช้คณิตศาสตร์มาผสมผสานกับดาราศาสตร์ เพื่อสร้างแผนที่โดยอ้างอิงจากเส้นละติจูดและลองจิจูด ใช้ระบุตำแหน่งบนแผนที่ได้แม่นยำขึ้น โดยแผนที่ของ Ptolemy ถูกใช้อย่างแพร่หลายในหมู่นักเดินเรือชาวอาหรับ และได้กลายเป็นพื้นฐานการประดิษฐ์แผนที่ซึ่งใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้ 

 

แผนที่ในปัจจุบันแบ่งตามลักษณะข้อมูลได้ 2 ประเภท

แผนที่อ้างอิง (General Reference Map)  

นับเป็นพื้นฐานสำหรับการสร้างแผนที่ชนิดอื่น ๆ ตัวอย่างสำคัญได้แก่ แผนที่ภูมิประเทศ แสดงลักษณะกายภาพบนพื้นผิวโลก เช่น ที่ราบ ที่ราบสูง ทิวเขา แม่น้ำ เกาะ ทะเล แผนที่ชุด ซึ่งมีหลายเเผนที่ มีมาตราส่วนและรูปแบบเดียวกัน ครอบคลุมพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น แผนที่ชุด L7018 ของกรมแผนที่ทหาร

 

    

(ซ้าย) แผนที่ชุดกายภาพโลก 2 ภาษา (ขวา) แผนที่ชุดกายภาพประเทศไท

 

แผนที่เฉพาะเรื่อง (Thematic Map) 

สร้างขึ้นเพื่อเเสดงรายละเอียดเฉพาะเรื่อง อย่างข้อมูลน่าสนใจของพื้นที่นั้น ๆ ตามวัตถุประสงค์ในการจัดทำ สามารถนำเสนอได้หลายลักษณะ เช่น แผนที่รัฐกิจ แผนที่ภูมิอากาศ แผนที่ธรณีวิทยา แผนที่การถือครองที่ดิน แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ แผนที่ท่องเที่ยว 
 

(ซ้าย) แผนที่ชุดรัฐกิจโลก 2 ภาษา แบ่งสีตามประเทศ (ขวา) แผนที่ชุดรัฐกิจประเทศไทย
 

แผนที่ที่เราคุ้นเคยส่วนใหญ่ถูกถ่ายทอดลงบนพื้นราบ แต่ในความเป็นจริงพื้นผิวภูมิประเทศมีมิติสูง-ต่ำ ดังนั้นจึงต้องมีการแปลงพื้นผิวโลกจากทรงรีให้อยู่พื้นระนาบด้วยการใช้สมการทางคณิตศาสตร์เพื่อหาความสัมพันธ์ของพื้นผิว เราเรียกศาสตร์นี้ว่า เส้นโครงแผนที่ (Map Projection) ซึ่งมีหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน ในที่นี้เราจะกล่าวถึงรูปแบบที่เป็นที่นิยมแพร่หลาย ดังนี้ 

แผนที่โลกแบบ Mercator ผลงานของ Gerardus Mercator การสร้างแผนที่ลักษณะนี้คือการนำกระดาษมาม้วนรอบลูกโลกแล้วฉายภาพลงไป การแสดงแผนที่แบบนี้มีคุณสมบัติในการรักษาทิศทาง และอัตราส่วนของระยะทางในทุกทิศทางจากจุดใดจุดหนึ่งให้มีค่าเท่ากันตลอดทั้งแผนที่ จึงเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในหมู่นักเดินเรือทางทะเล  หรือแม้แต่แผนที่โลกบน Google Maps แต่แผนที่แบบ Mercator ก็มีข้อจำกัดเรื่องสัดส่วนบิดเบือนไปจากความจริง เช่น ขนาดของกรีนแลนด์ และแอนตาร์กติก ที่ใหญ่กว่าความเป็นจริง 

 

 

แผนที่โลกวินเทจ: โกลเด้น บลู
 

แผนที่โลกแบบ Robinson ผลงานของ Arthur H. Robinson นำเสนอรูปทรงของโลกทั้งใบลงบนพื้นระนาบให้มีลักษณะใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด จุดประสงค์ของการสร้างแผนที่ลักษณะนี้ไม่ได้เน้นสัดส่วนที่แม่นยำ แต่ต้องการแสดงให้เห็นภาพรวมของทั้งโลกเพื่อความสวยงาม โดยนิตยสาร National Geographic ได้เลือกใช้แผนที่แบบ Robinson ในการตีพิมพ์ และอ้างอิงข้อมูลอยู่หลายปี ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นแบบ Winkel Tripel ในภายหลังเพราะมีความบิดเบือนของสัดส่วนบริเวณขั้วโลกน้อยกว่า 
 

แผนที่โลกคลาสสิก: โรบินสัน โปรเจกชัน

 
แผนที่กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันโดยที่เราเองอาจไม่รู้ตัว ทั้งการศึกษาเรียนรู้ การวางแผนธุรกิจ หรือแม้แต่การเดินทาง ซึ่งมีให้เลือกใช้หลายแบบ เช่น แผ่นพับ ชีต หนังสือแผนที่ (Atlas) ตลอดจนรูปแบบดิจิทัล ในอีกมิตินึงนอกจากการใช้งานแล้ว แผนที่มีบทบาทในการสะท้อนสไตล์และความสวยงาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าแผนที่ดีไซน์สวย ๆ มีส่วนช่วยสร้างบรรยากาศให้ผนังโล่ง ๆ มีเสน่ห์มากขึ้น  
 

  

(ซ้าย) แผนที่กรุงเทพฯ 2 ภาษา (กลาง) แผนที่ทางหลวง 2564 (ขวา) แผนที่ประเทศไทยวินเทจ: มาร์โค โปโล

 

THINKNET Design Studio จึงผลิตแผนที่ที่เป็นมากกว่าเครื่องมือที่ใช้งานได้ดี ให้ตอบโจทย์ความต้องการในมิติอื่น ๆ ควบคู่ไปกับคุณภาพที่เราใส่ใจผ่านผลิตภัณฑ์หลากหลาย เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้งานให้ครอบคลุมมากที่สุด เลือกแผนที่ให้เหมาะกับธุรกิจคุณ ด้วยแผนที่หลากสไตล์ได้ ที่นี่ 

เบื้องหลังเส้นสายบนแผนที่ที่เราเห็นคือเรื่องราวของการสำรวจ และบุกเบิก เราเดินทางเพื่อหาคำตอบ จากแผ่นดินเหนียวสู่โลกดิจิทัล วิวัฒนาการของแผนที่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา โลกใบนี้อาจไม่ได้มีเท่าที่ตาเห็น และอีกร้อยปี หรืออีกพันปี แม้แผนที่จะเปลี่ยนไป แต่เราก็จะยังคงไม่หยุดเสาะหาและออกเดินทาง  

THiNKNET Design Studio ยังมีผลิตภัณฑ์อีกมากมายให้เลือกไม่ว่าจะเป็น สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ และหนังสือคู่มือท่องเที่ยว "เที่ยว ล่า สุด" หนังสือท่องเที่ยวที่ออกตามล่าหาความเป็นที่สุดในทุก ๆ การเดินทาง  

เลือกซื้อผลิตภัณฑ์สื่อการเรียนรู้อื่น ๆ แผนที่เพื่อการตกแต่ง และหนังสือคู่มือท่องเที่ยวได้ ที่นี่  

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม  

Line : @thinknetdesign 

Tel: 02 353 6900  

 
ขอบคุณข้อมูลจาก 

https://www.gistda.or.th/main/ 
https://www.nationalgeographic.org/encyclopedia/gerardus-mercator/ 
https://www.britannica.com/science/cartography 

tags : แผนที่ แผนที่โรบินสัน แผนที่เมอร์เคเตอร์ แผนที่โลก thinknet thinknet design studio



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email