Orthographic Projection ศาสตร์แห่งการสร้างโลกบนหน้ากระดาษ

Orthographic Projection ศาสตร์แห่งการสร้างโลกบนหน้ากระดาษ
21/10/22   |   2.1k

กว่าสองพันปีมาแล้วที่ชาวกรีกเชื่อว่า "โลกกลม" แม้จะไม่มีกระสวยอวกาศ หรือคำว่าอวกาศยังไม่ได้บัญญัติใช้ด้วยซ้ำ ในเวลานั้น Aristotle เคยใช้เพียงการสังเกตง่าย ๆ จากเรือเดินสมุทร ที่เมื่อไปถึงยังจุดหนึ่งของขอบฟ้า ตัวเรือจะค่อย ๆ หายไป ทำให้มองเห็นได้เพียงเสากระโดง ถ้าโลกแบนไกลแค่ไหนก็ต้องมองเห็นเรือได้ครบทุกส่วนจนกลายเป็นข้อถกเถียงที่ชวนคิดตาม และในสมัยต่อมา Eratosthenes ก็มีส่วนช่วยสนับสนุนความคิดเรื่องโลกกลม โดยพิสูจน์ให้เห็นด้วยการทดลองจากการทอดตัวของเงาบนพื้นโลก 

 

ภาพบน: การตั้งข้อสังเกตของ Aristotle ภาพล่าง: การทดลองคำนวณทิศทางแสงของ Eratosthenes

 

นักทำแผนที่ยุคโบราณอาศัยองค์ความรู้จากทั้งคำบอกเล่าของนักเดินทาง การสังเกต และการคิดคำนวณเพื่อถ่ายทอดภาพของโลกด้วยความรู้ความเข้าใจที่มี การสร้างเส้นโครงแผนที่ขึ้นมาในสมัยนั้นจึงเป็นเรื่องท้าทายเพราะเราแทบไม่รู้เลยว่าหน้าตาของโลกที่เราอยู่นั้นเป็นอย่างไร แต่ก็ใช่ว่าแผนที่โลกรูปวงกลมจะเพิ่งมีหลังจากส่งยานอวกาศไปสำรวจโลก

 

 

แผนที่โลกแบบ Orthographic Projection เป็นโครงแผนที่รูปวงกลมที่นำเสนอภาพของโลกอย่างมั่นใจว่าเป็นวงกลมแน่ ๆ และอาจจะมีมาก่อนที่ The Nicolosi Globular Projection ของ Al-Biruni โพลิแมท (Polymath) ชาวอิหร่านจะเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในยุคศตวรรษที่ 19

 

The Nicolosi globular projection ของ Al-Biruni
[Image: https://www.loc.gov/resource/g3200.ct003833/]


ไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้คิดค้น Orthographic Projection มีเพียงร่องรอยการใช้งานช่วง 200 ปีก่อนคริสตกาล ที่พบว่า Hipparchus นักดาราศาสตร์ชาวกรีกได้ใช้ Analemma หรือเส้นโค้งที่แสดงละจิจูดที่ดวงอาทิตย์ส่องแสงตั้งฉากในวันต่างๆตลอดปี สร้างแผนที่เพื่อศึกษาดวงดาว โดยเรียกว่าแผนที่ Analemma และหลังจากนั้นหลายร้อยปีก็มีการกล่าวถึง Marcus Vitruvius Pollio วิศวกรชาวโรมันว่าเคยใช้แผนที่วงกลมลักษณะคล้ายกันในการสร้างนาฬิกาแดดและคำนวณตำแหน่งของดวงอาทิตย์
 

 

ซ้าย: Hipparchus สร้างแผนที่จากการสังเกตดวงดาว ขวา: ลักษณะของ analemma


ภาพแผนที่ส่วนใหญ่ที่เราคุ้นเคยอาจเป็นการคลี่กางพื้นผิวของโลกออกไปในแนวราบ แต่การนำเสนอภาพของ Orthographic Projection คือการสร้างภาพ Perspective จากมุมมองระยะไกล โดยการฉายแสงสมมติจากระยะอนันต์ผ่านโลกทรงกลมลงบนพื้นราบ จะได้รายละเอียดบนพื้นผิวโลกอยู่ในวงกลมมองดูคล้ายทรงสามมิติ ไม่มีคุณสมบัติด้านการรักษาทั้งพื้นที่ รูปร่าง หรือระยะทาง ใช้แสดงภาพของโลกได้เพียงทีละด้าน จึงเหมาะแค่ใช้เพื่อความสวยงามหรือเป็นภาพประกอบเท่านั้น ซึ่งดูเหมือนไม่ใช่ปัญหาเพราะดูเหมือนว่าแผนที่โลก Orthographic Projection ยังได้รับความนิยมข้ามศตวรรษมาจนถึงปัจจุบัน

François d'Aguilon นักบวชชาวเฟลมิช มีชีวิตอยู่ช่วง ค.ศ. 1567-1671 เกิดในบรัสเซลส์ ประเทศ เบลเยียม โดยใน ค.ศ. 1963  เชี่ยวชาญทั้งสถาปัตยกรรม คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ เขาได้มีส่วนช่วยทำให้เส้นโครงแผนที่โบราณนี้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยเป็นผู้เริ่มต้นใช้ชื่อ Orthographic Projection แทน Analemma ที่ Hipparchus ใช้เรียกเส้นโครงแผนที่เมื่อหลายร้อยปีก่อน ซึ่งมาจากคำว่า orthos คือ เส้นตรงในภาษากรีก รวมกับ graphē ที่หมายถึงการวาดภาพ ด้วยความหลงไหลในพฤติกรรมของแสง ทำให้ดากกีลงศึกษาอย่างจริงจังและได้เขียนหนังสือ "Opticorum Libri Sex philosophis juxta ac mathematicis utiles" หรือ "Six Books of Optics, is useful for philosophers and mathematicians" ซึ่งมีการกล่าวถึงการศึกษากล้องส่องทางไกลไว้เป็นครั้งแรกในหนังสือเล่มนี้ด้วย

 

ซ้าย: François d'Aguilon แสดงการสร้างเส้นโครงแผนที่โดยการฉายภาพ ขวา: หนังสือ Opticorum Libri Sex

[Image: ภาพประกอบโดย Peter Paul Rubens]

 

น่าเสียดายที่แผนที่โลกต้นฉบับในยุคโบราณนั้นสูญหายไปตามกาลเวลา แต่ยังพอมีงานที่ได้รับอิทธิพลหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง เช่นงานที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ยังปรากฏอยู่อย่างลูกโลกจำลองแกะสลักด้วยไม้สมัย ค.ศ. 1509 และแผนที่โลกของ Dürer-Stabius ค.ศ. 1515 

 

แผนที่โลกของ Dürer-Stabius ค.ศ. 1515

[Image: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Durer_Stabiussche_Weltkarte_1515.jpg]

 

จุดเด่นที่สร้างตำนานของ Orthographic Projection ไม่ได้อยู่ที่ความเก่าแก่ แต่เป็นความมหัศจรรย์ในวิธีการสร้างสรรค์ผลงานของนักทำแผนที่ในยุคก่อนที่สามารถปะติดปะต่อภาพของโลกกลม ๆ ออกมาได้อย่างลงตัว แม้ไม่เคยได้เห็นรูปร่างที่แท้จริงมาก่อน แต่ก็ถ่ายทอดภาพของโลกออกมาได้อย่างแนบเนียน ชนิดที่เรียกได้ว่าไม่ต้องไปยืนมองจากดวงจันทร์ก็จินตนาการถึงโลกใบนี้ได้อย่างใกล้เคียงความจริงจนน่าตกใจ
 

การสร้างเส้นโครงแผนที่ หรือ Map Projection คือศาสตร์ที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับโลกได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น หากกำลังมองหาแผนที่โลกที่ต่างออกไปจากความเคยชินเดิม ๆ THiNKNETDesignStudio ขอนำเสนอทางเลือกให้กับผู้สนใจศาสตร์แห่งการทำแผนที่ได้รู้จักกับแผนที่โลกแบบต่าง ๆ และหนึ่งในนั้นคือ Orthographic Projection แผนที่โลกที่มีทั้งแบบ 2 ภาษา ไทย-อังกฤษ และแบบภาษาอังกฤษ เหมาะสำหรับใช้เพื่อการเรียนการสอน และตกแต่งเพื่อความสวยงาม
 

   

แผนที่โลกคลาสสิก: ออร์โทกราฟิก โปรเจกชัน

 

THiNKNET Design Studio ยังมีผลิตภัณฑ์อีกมากมายให้เลือกสรร ไม่ว่าจะเป็น สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ แผนที่เพื่อการวางแผนธุรกิจ รวมถึงหนังสือคู่มือท่องเที่ยว "เที่ยว ล่า สุด" หนังสือท่องเที่ยวที่ออกตามล่าหาความเป็นที่สุดในทุก ๆ การเดินทาง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ Facebook : THiNKNETDesignStudio
ซื้อสินค้าสื่อการเรียนรู้อื่น ๆ แผนที่เพื่อการตกแต่ง และหนังสือคู่มือท่องเที่ยวได้ ที่นี่
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม Line: @thinknetdesign
Tel: 0 2480 9990
 

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.aps.org/publications/apsnews/200606/history.cfm 
https://www.wired.com/2014/11/get-to-know-a-projection-azimuthal-orthographic/ 
https://spark.iop.org/greek-evidence-earths-shape-and-spin 
https://www.aguilonius.com/about/history/ 
http://www.whoinventedfirst.com/who-invented-the-trigonometry/
https://prabook.com/web/francois.d_aguilon/3753400

tags : map map projection world map social studies carthography political map



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email