tags #world map

ความพยายามในการถ่ายทอดภาพของโลกให้ออกมาใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุด คือศาสตร์แห่งการทำแผนที่ซึ่งพัฒนาอย่างยาวนาน อาศัยองค์ความรู้หลากหลายเพื่อให้ได้แผนที่โลกที่ดีที่สุด

แผนที่โลกรูปเรขาคณิตที่มาพร้อมลูกเล่นเฉพาะตัว นอกจากจะทำหน้าที่เป็นแผนที่ในแนวราบแล้วยังประกอบขึ้นเป็นลูกโลกทรงเต๋า 20 หน้าได้ด้วย

แผนที่โลกเพื่อความสวยงาม คือคำจำกัดความของ Robinson Projection ผลงานของ Dr.Arthur Howard Robinson นักทำแผนที่ที่ต้องการสร้างโลกในแบบที่ถูกที่ควร

Orthographic Projection ศาสตร์แห่งการสร้างโลกที่มีมาก่อนกาล ถ่ายทอดผ่านนักทำแผนที่หลายรุ่น แสดงภาพของโลกด้วยมุมมองจากระยะไกลราวกับภาพถ่ายจากอวกาศ

เส้นโครงแผนที่รูปเรขาคณิต ผลงานของริชาร์ด บักมินสเตอร์ ฟุลเลอร์ มาพร้อมคุณสมบัติคงพื้นที่และรูปร่าง ที่นำเสนอภาพของโลกภายใต้แนวคิดผืนดินและมหาสมุทรเดียว

แผนที่โลกรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผลงานของ Charles Sanders Peirce บิดาแห่งปรัชญาแนวปฏิบัตินิยม ผู้ต้องการสร้างแผนที่โลกที่อาศัยความจริงเป็นที่ตั้ง

วิงเคิล ทริปเพิล โปรเจกชัน ผลงานของ ออสวอลด์ วิงเคิล เส้นโครงแผนที่ซึ่งนำเสนอโลกทั้งใบบนหน้ากระดาษเดียวโดยลดความบิดเบี้ยวได้อย่างแยบยลแต่เกือบถูกลืม

เส้นโครงแผนที่แบบขาดตอน ลักษณะคล้ายเปลือกส้ม ผลงานไฮบริดของ John Paul Goode ที่ตั้งใจจะนำเสนอโลกใบใหม่ซึ่งผ่านการกลั่นกรองมาแล้วอย่างดี และพร้อมเดินออกจากขนบเดิม ๆ



ติดตามข่าวสารและเรื่องราวดีๆ ทาง Email